วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย

1.   กฎหมาย  หมายถึง  คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย  เมื่อไม่ทำตามต้องรับโทษ"  สืบค้นจาก

2.  นิติบุคคล หมายถึง กลุ่มบุคคลหลายคนร่วมกันตั้งกลุ่มขึ้นโดยอาศัยอำนาจในทางกฎหมาย กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะบุคคล หน่วยงาน บริษัทจำกัด กองทรัพย์สิน ฯลฯ ซึ่ง กฎหมายยินยอมให้กระทำการได้ นิติบุคคล ไม่ใช่บุคคลธรรมดาไม่มีชีวิตจิตใจ จึงต้องมีผู้แทนนิติบุคคลแสดงเจตนา หรือกระทำ การแทน เช่น มีกรรมการ ผู้จัดการ เจ้าอาวาสวัด ฯลฯ ทำหน้าที่แทน ประเภทของนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น กระทรวง ทบวง กรม วัด ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน แล้ว บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ และนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น เช่น พรรคการเมือง รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น  สืบค้นจาก


3.  กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา สืบค้นจาก


4.  กฎหมายอาญา หมายถึง กฎหมายที่รวมเอาลักษณะความผิดต่าง ๆ และกำหนดบทลงโทษมาบัญญัติขึ้น ด้วยมีจุดประสงค์จะรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคม หรือคนส่วนใหญ่ของประเทศถือว่าเป็นความผิดทางอาญาหากปล่อยให้มีการแก้แค้นกันเองหรือ ปล่อยให้ผู้กระทำผิดแล้วไม่มีการลงโทษจะทำให้มีการกระทำความผิดทางอาญามากขึ้นสังคมก็จะขาดความสงบสุข  สืบค้นจาก


5.   สิทธิมนุษยชน  หมายถึง  นั้นเป็นสิทธิที่ทุกๆคนมีอยู่กับตน แต่เรากลับไม่ทราบว่ามันคืออะไร มีที่มาอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร ทั้งๆที่เป็นสิ่งที่ทุกคนมีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีความเห็นว่าเราควรที่จะมาศึกษาในด้านสิทธิมนุษยชนนี้ให้มากขึ้น เพราะเป็นสิทธิที่ทุกคนมี และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเป็นอย่างมาก หากเรามีความรู้ในเรื่องของสิทธิมนุษยชน ข้าพเจ้ามั่นใจว่าจะต้องมีประโยชน์กับทุกท่านอย่างแน่นอน  สืบค้นจาก

6.  ฝ่ายนิติบัญญัติ  หมายถึง ตัวแทนของประชาชนที่ไปทำหน้าที่ออกกฎหมาย พิจารณางบประมาณของแผ่นดิน เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของแผ่นดินและประเทศชาติ  สืบค้นจาก
7.  นิติรัฐ หมายถึง รัฐที่ปกครองด้วย “กฎหมาย” ไม่ใช่ปกครองด้วย “อำนาจบารมี” กล่าวคือ ถือกฎหมายเป็นใหญ่ คนบังคับใช้กฎหมายเป็นรอง ต่างกับรัฐที่มีกฎหมายในการปกครอง เพราะรัฐที่มีกฎหมายในการปกครอง ก็ไม่แน่ว่า กฎหมายจะเป็นใหญ่หรือไม่ แต่ทั้งนี้ ทุกรัฐล้วนมีกฎหมายในการปกครองด้วยกันทั้งสิ้น จุดสำคัญอยู่ที่ว่า กรณีที่เป็นช่องว่างของกฎหมาย หรือไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ถ้าฝ่ายปกครองถือหลักว่า “เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ฝ่ายปกครองจะกระทำอะไรก็ได้ เพราะเป็นดุลพินิจของฝ่ายปกครอง และในขณะเดียวกัน ถ้ามีกฎหมายให้อำนาจไว้ ฝ่ายปกครองยิ่งจะกระทำอย่างไรก็ได้แล้ว”  สืบค้นจาก

8.  นิติกรรม  หมายความว่าการใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร  มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล  เพื่อจะก่อ  เปลี่ยนแปลง  โอน  สงวน  หรือระงับซึ่งสิทธิ  สืบค้นจาก

9.  รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะกำหนดที่มาของอำนาจ โครงสร้างทางการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองการปกครองในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจกันและกัน  สืบค้นจาก

10.    พยานหลักฐาน  หมายถึง  คำว่า  “พยานหลักฐาน”  นั้น  ความหมายโดยทั่วไปหมายถึง  “สิ่งที่แสดงถึงข้อเท็จจริงใดข้อเท็จจริงหนึ่ง”  เช่น  นายแดงเห็นนายดำและนายขาวโต้เถียงทะเลาะกัน  สุดท้ายนายดำทำร้ายนายขาว  สิ่งที่นายแดงรู้เห็นยืนยันถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น สิ่งที่นายแดงเห็นจึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้  สืบค้นจาก


วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

My Profile.



ชื่อ  :  นางสาวนัทธมน  สกุุล :  ฤทธิโชติ
อายุ  :  21  ปี  
ชื่อเล่น  :  แพง
ศาสนา  :  พุทธ
ประวัติการศึกษา  :  คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
สาขาวิชา  ภาษาอังกฤษ
สีที่ชอบ  :  สีเขียว 
ความสามารถพิเศษ  :  ร้องเพลง , วาดภาพ
กิจกรรมยามว่าง  :  ดูหนัง , ฟังเพลง , ว่ายน้ำ และอ่านหนังสือการ์ตูน
กีฬาที่ชื่นชอบ  :  ว่ายน้ำ
คติประจำใจ  :  ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา  จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว  
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร  แค่บินไปให้ถึงฝันเท่านั้นพอ...