ตอบ “กฎหมาย” หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นใบอนุญาตให้สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ตามสาขาที่เรียนมา โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะต้องมีคุณสมบัติตามที่องค์กรออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำหนดไว้ ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ได้ ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษตามที่องค์กรวิชาชีพแต่ล่ะองค์กรกำหนดไว้ ดิฉันเห็นด้วยที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เพราะใบประกอบวิชาชีพจะออกให้ก็ต่อเมื่อบุคคลเหล่านี้สำเร็จการศึกษาในระดับที่เขากำหนด ใบประกอบวิชาชีพสามารถบ่งบอกได้ว่าเราจบมาในสาขาใด แล้วเวลาไปสมัครเข้าทำงานก็จะง่ายในการรับเข้าทำงานต่อไปและใบประกอบวิชาชีพจะบอกได้ว่าเรามีศักยภาพมากน้อยเพียงใด
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้อง
ตอบ การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานั้นก่อให้เกิดผลดีต่อการขับเคลื่อนของสถานศึกษา เพราะมีผลในทางจิตวิทยาเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมย่อมเกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร ความคิดเห็นถูกรับฟังและนำไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาสถานศึกษา ที่สำคัญผู้ที่มีส่วนร่วมจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ และจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนการบริหารได้ดีที่สุด ซึ่งนอกจากนั้นยังมีการจัดระดมทรัพยากร เช่น งบประมาณ วัสดุ สื่อ เทคโนโลยี เพื่อมาสนับสนุนการจัดการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น โดยข้าพเจ้าจะระดมทุนโดยการรวมกลุ่มชาวบ้านในหมู่บ้านและช่วยกันทำสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้แและวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อจัดจำหน่าย นอกจากนี้ยังมีการรับบริจาคสิ่งของเหลือใช้ เช่น หนังสื่อ และอุปกรณ์การเรียนต่างๆ
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูป
ตอบ การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงานในมาตรานี้ใช้คำว่า การศึกษามี 3 รูปแบบ แต่ในต้นตอของแนวคิดนี้ใช้คำว่า "System"คือ "ระบบ" ได้แก่ "Formal Education System" หรือบางครั้งใช้คำว่า "Formal School System" ซึ่งคำหลังนี้น่าจะถูกต้องมากกว่า และตามมาด้วยคำว่า "Nonformal
Schooling System" และคำ "Informal Education System" อย่างไรก็ตามแนวคิดของ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะถือว่าทั้ง 3 ระบบนี้คือ รูปแบบของการจัดการเรียนการสอน และจะส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ แต่จะทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ไม่บังคับและจะให้มีระบบการเทียบโอนซึ่งคงไม่ง่ายอย่างที่คิด คงต้องมีหลักเกณฑ์การพิจารณา เพื่อไม่ให้เกิดความลักลั่นระหว่างสถานศึกษาต่างๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดมาตรฐานการศึกษาอาจจะต้องคิดหลักเกณฑ์การเทียบโอนนี้ให้สถานศึกษานำไปเป็นแบบของการเทียบโอน
การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ
(1) การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา
การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(2) การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา
การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไป
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การใช้คำว่า "อุดมศึกษา" แทนคำว่า "การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย" ก็เพื่อจะให้ครอบคลุม
การศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว
เป็นการให้ความสำคัญแก่การศึกษาระดับนี้ที่ถือกันว่าเป็นกำลังคนระดับกลางและพื้นฐานของ
การพัฒนาเศรษฐกิจ
ส่วนในระดับมหาวิทยาลัยนั้น ตามแนวโน้มใหม่จะแบ่งเป็นระดับปริญญาตรี และหลัง
ปริญญาตรี เพื่อยกระดับความสำคัญของการวิจัยค้นคว้า การสร้างองค์ความรู้ในระดับ
ปริญญาโท-เอก จะได้จำแนกภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เพื่อความเข้าใจ
ของคนส่วนใหญ่ก็ยังคิดตามแนวเดิมว่าระดับปริญญามีเพียงระดับเดียว คือ ปริญญาโทร-เอก
รวมกัน
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับ
ตอบ การศึกษาภาคบังคับ
“การศึกษาภาคบังคับ” หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ( 9 ปี )
การศึกษาพื้นฐาน (Basic education) หมายถึง การศึกษาที่มุ่งให้ตอบสนองความต้องการทางการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงการเรียนการสอนในระดับต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่การเรียนรู้ขั้นต่อไป เช่นการศึกษาสำหรับเด็กวัยเริ่มต้น การศึกษาระดับประถม การสอนให้รู้หนังสือ ทักษะความรู้ทั่วไป ทักษะเพื่อการดำรงชีวิต สำหรับเยาวชนและผู้ใหญ่ ในบางประเทศ การศึกษาพื้นฐานยังขยายขอบเขตไปถึงระดับมัธยมด้วย ( 12 ปี )
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางข
ตอบ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
(๑) สำนักงานรัฐมนตรี
(๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
(๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ปัจจุบัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคือ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระ
ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระ
- กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
- กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
- ประสานส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอ
ตอบ ไม่ผิด เพราะตาม พรบ. การศึกษาบางมาตราที่มีข้อยกเว้นไว้
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินั
ตอบ โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ บทลงโทษที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประพฤติในทางที่ไม่ชอบไม่ควร ข้าราชการต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามถือว่า ผู้นั้นกระทำผิดวินัยจะต้องได้รับโทษ(มาตรา 65)
โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดขั้นเงินเดือน
4. ปลดออก
5. ไล่ออก
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ ใน พรบ. 2546 มีดังนี้
“1. เด็ก” หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส “เด็กเร่ร่อน” หมายถึง เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
2. “เด็กกำพร้า” หมายถึง เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
3. “เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายถึง เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
4. “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายถึง เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
5. “ทารุณกรรม” หมายถึง การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
ดิฉันคิดว่าเด็กเหล่านี้เสี่ยงต่อการทารุณกรรมเพราะเด็กเหล่านี้จัดเป็นเด็กที่มีปัญหาทางครอบครัวและ สังคม ทั้งนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น